ยินดีต้อนรับสู่ Web Blog KruNattida ค่ะ

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

ความหมายของนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา

 

++ มีอะไรใหม่ๆ ในเว็บบล็อกนี้ ++


*** แนะนำ icon เว็บส่วนตัว   เกมส์   ห้องแชท   พรีเซ็นต์เทชั่น   คอมเม้นบทความ  เพลงและวีดีโอ  และผลสำรวจ ***

เกมส์สนุกๆ

นำเสนอ : สื่อการสอนประเภทอุปกรณ์





View more presentations from hall999.


การวาดเส้น

วาดเส้น (Drawing) เป็น วิธีการสร้างภาพโดยวิธีที่ง่ายและรวดเร็ว  เพื่อสื่อความหมายทางการเห็นขั้นเริ่มแรกของมนุษย์ด้วยปัจจัยขั้นพื้นฐาน คือ ร่องรอยต่าง ๆ และเครื่องมือง่าย ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว เช่น ถ่าน เศษไม้ หรือแม้แต่นิ้วมือของตนเอง  ซึ่งมนุษย์ต้องการแสดงออกในบางอย่างที่เป็นส่วนตนออกมาให้ปรากฏ  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของความเชื่อ ความนึกคิด อารมณ์ความรู้สึก หรือแม้แต่ร่องรอยง่าย ๆ ที่ทำขึ้นมาเอง  วาดเส้นเป็นพื้นฐานของงานทัศนศิลป์และออกแบบ  เช่น  จิตรกรรม  ประติมากรรม  ภาพพิมพ์ สถาปัตยกรรม  ออกแบบตกแต่ง  ศิลปะไทย  ลายรดน้ำ  เป็นต้น ก่อนที่เราจะสร้างสรรค์งานศิลปะแขนงต่าง ๆ ดังที่ยกตัวอย่างมาข้างต้น จำเป็นจะต้องมีความชำนาญทางการวาดเส้นให้แม่นยำเสียก่อน  เมื่อมีความชำนาญทางการวาดเส้นแล้วก็จะทำให้การทำงานศิลปะต่าง ๆ ง่ายขึ้น
วัสดุอุปกรณ์ในการวาดเส้น
         ๑. กระดานรองเขียน ขนาด ๔๐ x ๖๐ เซนติเมตรโดยประมาณ ความหนาประมาณ ๔ มิลลิเมตร
         ๒. กระดาษ กระดาษสำหรับวาดเส้นมีหลายชนิด สามารถเลือกใช้ได้ ตามเทคนิคของการวาดเส้น ซึ่งต้องดูคุณสมบัติและความเหมาะสม เช่น น้ำหนัก การซึมซับ และผิวสัมผัส
         ๓. ยางลบ
         ๔. ตัวหนีบกระดาษ
         ๕. มีดเหลาดินสอ
         ๖. เครื่องเขียน อาจแบ่งออกเป็น
         ๖.๑ ถ่าน  มีคุณลักษณะต่างกันเนื่องจากความละเอียด ความแข็งของเนื้อถ่าน เช่น
                   - ถ่านไม้  เป็น ถ่านมีความแข็ง เปราะ คุณสมบัติในการวาดให้น้ำหนักอ่อนแก่ที่นุ่มนวลได้ค่อนข้างมาก  เหมาะสำหรับการเขียนแสงเงาที่นุ่มนวล และเงาที่เป็นพื้นที่กว้าง เช่น การเขียนภาพคนเหมือน ภาพเปลือย ทิวทัศน์ และภาพหุ่นนิ่งต่าง ๆ มีส่วนช่วยจับลักษณะแสงเงาส่วนรวมเหมาะกับการเขียนลงบนกระดาษปรู๊ฟ (Proof) หรือกระดาษหนังสือพิมพ์
                    - ถ่านแท่ง หรือ เกรยอง (Crayon) เป็นถ่านแท่งสี่เหลี่ยมมีความแข็งปานกลาง สามารถสร้างเงาที่นุ่มนวล เกรดที่นิยมใช้ทั่วไปคือ B และ 2B มีหลายสีแต่ที่นิยมคือสีดำ  เพราะเน้นน้ำหนักแสงเงาได้ชัดเจนกว่าสีอื่น  เหมาะสมกับการเขียนลงบนกระดาษขาวทั่วไป 
                   - ดินสอถ่าน (Carbon pencil) เป็นถ่านที่บรรจุไว้ในไส้ดินสอมีน้ำหนักความเข้มเช่นเดียวกับถ่านไม้  สามารถใช้วาดภาพวัตถุที่มีรายละเอียดมาก           ๖.๒ ชอล์ก (Chalk) ลักษณะเป็นแท่งกลม มีหลายสีเหมาะสมกับการเขียนบนกระดาษสีเข้ม เช่น สีน้ำตาล สีเมา สีเขียว ฯลฯ
          ๖.๓ ดินสอ (Pencil) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานของการวาดเส้นในปัจจุบัน ง่ายต่อการขนย้าย สามารถลบออกได้ มีทั้งไส้อ่อนและไส้แข็ง 
          ๖.๔ หมึก (Ink) สี ที่นิยมใช้ในการวาดเส้นคือ สีดำ สีน้ำตาล ควรเลือกใช้กระดาษที่มีความหนา เช่น ๘๐ ปอนด์ หรือ ๑๐๐ ปอนด์  จะใช้ผิวเรียบ หรือหยาบก็ได้  โดยมีอุปกรณ์อื่นเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น แปรง พู่กัน ปากกา สันไม้ ไม้ทุบปลาย เป็นต้น
          สิ่งที่ควรฝึกตนเองก่อนเริ่มลงมือวาดรูป ขั้นแรกให้หัดเขียน เส้นนอน เส้นตั้ง เส้นเฉียง ซ้ำ ๆ กันให้คล่องมือ

หลังจากนั้นให้หัดแรเงาตามรูปทรง  โดยใช้เส้นตรงวางให้ชิดเป็นแนวเดียวกัน ใช้วิธีเหวี่ยงข้อมืออย่างเร็วทั้งขึ้นและลง



ฝึกเขียนเลียนแบบจากที่สายตามองเห็น  และลองขยายต้นแบบให้มีขนาดใหญ่ขึ้น และย่อส่วนจากแบบ สามารถทำให้เกิดภาพลวงตา บอกระยะได้



การฝึกสมาธิให้ใจสัมพันธ์กับมือ  โดยการลงซ้ำบนรอยเดิมค่อย ๆ ทำเวลาให้เร็วขึ้น



ก่อนเขียนรูปควรสังเกตดูลักษณะของหุ่น           
         ๑. รูปทรง ขนาด ระยะ สังเกตรูปทรงและขนาดของภาพให้ดี  หากเราย่อหรือขยายสัดส่วนโดยสังเกตจากหุ่นที่ใกล้เคียง เปรียบเทียบ ขนาด ระยะ ความสูงต่ำ
         ๒. แสงและเงา ทิศทางที่แสงตกกระทบหุ่น แสงมีหลายลักษณะ คือ
             - แสงสว่างที่สุด (Highlight) อยู่ในส่วนที่รับแสงโดยตรง
             - แสงสว่าง (Light) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสง
             - เงา (Shadow) อยู่ในส่วนรับอิทธิพลของแสงน้อยมาก
             - เงามืด (Core of Shadow) อยู่ในส่วนที่ไม่ได้รับอิทธิพลของแสงเลย
             - แสงสะท้อน (Reflects Light) บริเวณของวัตถุที่ไม่ได้รับแสงโดยตรง แต่เป็นการสะท้อนของแสงจากวัตถุใกล้เคียง
             - เงาตกทอด (Cast Shadow) บริเวณที่เงาของวัตถุนั้น ๆ ตกทอดไปตามพื้นหรือตามวัตถุอื่นที่รองรับน้ำหนักแก่กว่าบริเวณแสงสะท้อน



๓. ผิว  สังเกตหุ่นว่ามีลักษณะผิวอย่างไร เช่น
             - ผิวด้าน เช่น กิ่งไม้แห้ง ใบไม้แห้ง เครื่องปั้นดินเผา หุ่นผิวลักษณะนี้แสงจะต้องนุ่มนวล จากแสงอ่อนไปจนถึงแก่จัด
             - ผิวมัน เช่น ผลไม้สด เซรามิค ภาชนะพลาสติก  หุ่นผิวประเภทนี้จัดเป็นจุดและแสงจะต้องขาวไม่ว่าหุ่นจะเป็นอะไรก็ตาม
             - ผิวใส เช่น แก้วน้ำ ขวดใส ถุงพลาสติกใส่อาหาร โหลแก้ว  หุ่นประเภทนี้ต้องเขียนให้ใสมองทะลุถึงวัตถุที่อยู่ด้านหลังของหุ่นจะมีความ แวววาวมาก

๔. น้ำหนัก
๕. องค์ประกอบของภาพ
คือ การจัดวางภาพและหน้ากระดาษให้เหมาะสมกัน โดยไม่ให้ใหญ่และไม่เล็กจนเกินไป



ลำดับขั้นในการสร้างงานวาดเส้น 
         ๑. ขั้นเตรียมการ ได้แก่ การเตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมในการวาดภาพ  การเตรียมใจ หมายถึง มีใจพร้อมที่จะวาดภาพ  และการเลือกมุมมอง  ดูทิศทางที่แสงเข้าและเงาตกทอดที่ชัดเจน
         ๒. ขั้นร่างภาพ  การร่างภาพเป็นส่วนสำคัญของการวาดเส้น  เพราะถือว่าเป็นการเริ่มต้นของโครงร่างของภาพทั้งหมด  ถ้าร่างได้เหมาะสมกับหน้ากระดาษ การลงน้ำหนักหรือแรเงาจะง่ายขึ้น  เริ่มแรกคือการหาส่วนรวมของภาพ จะทำให้เรากำหนดตำแหน่งของส่วนละเอียดให้ถูกต้องขึ้น
         ๓. ขั้นลงน้ำหนัก  เพื่อให้การลงน้ำหนักเหมือนของจริง ต้องสังเกต น้ำหนัก แสงและเงาในตัววัตถุที่เราเตรียมลงน้ำหนัก ดูจากข้อแสงและเงา  การลงน้ำหนักมี ๒ ลักษณะ คือ
             - การลงน้ำหนักตามหลักการของแสงอาทิตย์  ลงน้ำหนักให้แสงเงาเหมือนจริง
             - การลงน้ำหนักตามความรู้สึก  แสดงถึงความสามารถในการคิดสร้างสรรค์รูปร่างและรูปทรงขึ้นใหม่  จากความคิดและความรู้สึกอันทำให้ได้ความงามที่แปลกออกไป
วาดเส้น  มีเรื่องของแสงและเงาเป็นหลักสำคัญ  เป็นพื้นฐานแรกของการเข้าสู่การทำงานทางด้านทัศนศิลป์และออกแบบ  เป็นการแสดงออกโดยการสร้างภาพให้มองเห็นความคิดและความรู้สึก ของผู้สร้างสรรค์ผลงานศิลปะ

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

ผลงานผลิตตัวอักษรหัวเรื่อง 3 แบบ

ภาพที่ 1

ภาพที่ 2

ภาพที่ 3
*** คลิกที่รูปเพื่อขยายภาพขนาดจริง ***

วันจันทร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2554

ทฤษฎีสี


แม่สีจิตวิทยา
แม่สีดังกล่าวคือสีที่เราพบเห็นจะสามารถโน้มน้าวชวนให้รู้สึกตื่นเต้น โศกเศร้า โดยมากมักใช้ในการรักษาคนไข้ได้ เช่นโรคประสาท หรือโรคทางจิต แม่สีจิตวิทยาสี 4 สีประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง สีเขียว และสีน้ำเงิน

แม่สีวิทยาศาสตร์
แม่สีวิทยาศาสตร์เป็นสีที่เกิดจากการสร้างหรือประดิษฐ์ขึ้นจากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น สีของหลอดไฟ
สีที่ผ่านแท่งแก้วปริซึม ที่เกิดจากการสะท้อนและการหักเหของแสง แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแสด สีเขียวมรกต และสีม่วง

แม่สีศิลปะ
แม่สีศิลปะหรือบางครั้งเรียกว่า แม่สีวัตถุธาตุ หมายถึงสีที่ใช้ในการวาดภาพ หรือสร้างสรรค์ผลงานทางศิลปะทั่วๆไป ซึ่งเมื่อนำมาผสมกันในปริมาณต่างๆที่ต่างอัตราส่วนกันจะเกิดสีสรรต่างๆมาก มายให้เราได้เลือกหรือนำมาใช้ในการสร้างสรรค์ผลงานที่สวยงามได้
แม่สีในกลุ่มนี้ประกอบด้วย สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน

แม่สี  Primary Colour

แม่สี คือ สีที่นำมาผสมกันแล้วทำให้เกิดสีใหม่ ที่มีลักษณะแตกต่างไปจากสีเดิม  แม่สี มือยู่  2 ชนิด คือ
    1. แม่สีของแสง เกิดจากการหักเหของแสงผ่านแท่งแก้วปริซึม มี 3 สี คือ สีแดงสีเหลือง และสีน้ำเงิน อยู่ในรูปของแสงรังสี  ซึ่งเป็นพลังงานชนิดเดียวที่มีสี คุณสมบัติของแสงสามารถนำมาใช้ ในการถ่ายภาพภาพโทรทัศน์ การจัดแสงสีในการแสดงต่าง ๆ เป็นต้น
    2. แม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีที่ได้มาจากธรรมชาติ และจากการสังเคราะห์โดยกระบวนการทางเคมี มี 3 สี คือ สีแดง สีเหลือง และสีน้ำเงิน แม่สีวัตถุธาตุเป็นแม่สีที่นำมาใช้งานกันอย่างกว้างขวาง ในวงการศิลปะ  วงการอุตสาหกรรม ฯลฯ
    แม่สีวัตถุธาตุ เมื่อนำมาผสมกันตามหลักเกณฑ์ จะทำให้เกิด วงจรสี ซึ่งเป็นวงสีธรรมชาติ เกิดจากการผสมกันของแม่สีวัตถุธาตุ เป็นสีหลักที่ใช้งานกันทั่วไป ใน

วงจรสี   ( Colour Circle)

   สีขั้นที่ 1 คือ แม่สี ได้แก่ สีแดง   สีเหลือง  สีน้ำเงิน
   สีขั้นที่ 2 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 หรือแม่สีผสมกันในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะทำให้ เกิดสีใหม่ 3 สี ได้แก่ 
                   สีแดง ผสมกับสีเหลือง  ได้สี ส้ม
                   สีแดง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีม่วง
                   สีเหลือง ผสมกับสีน้ำเงิน  ได้สีเขียว
   สีขั้นที่ 3 คือ สีที่เกิดจากสีขั้นที่ 1 ผสมกับสีขั้นที่ 2 ในอัตราส่วนที่เท่ากัน จะได้สีอื่น ๆอีก 6  สี คือ
                   สีแดง ผสมกับสีส้ม  ได้สี ส้มแดง
                   สีแดง ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงแดง
                   สีเหลือง ผสมกับสีเขียว ได้สีเขียวเหลือง
                   สีน้ำเงิน ผสมกับสีเขียว  ได้สีเขียวน้ำเงิน
                   สีน้ำเงิน ผสมกับสีม่วง  ได้สีม่วงน้ำเงิน
                   สีเหลือง ผสมกับสีส้ม ได้สีส้มเหลือง
  
วรรณะของสี คือสีที่ให้ความรู้สึกร้อน-เย็น ในวงจรสีจะมีสีร้อน 7 สี และสีเย็น 7 สี ซึ่งแบ่งที่ สีม่วงกับสีเหลือง ซึ่งเป็นได้ทั้งสองวรรณะ
  
สีตรงข้าม หรือสีตัดกัน หรือสีคู่ปฏิปักษ์ เป็นสีที่มีค่าความเข้มของสี ตัดกันอย่างรุนแรง ในทางปฏิบัติไม่นิยมนำมาใช้ร่วมกัน เพราะจะทำให้แต่ละสีไม่สดใส เท่าที่ควร  การนำสีตรงข้ามกันมาใช้ร่วมกัน อาจกระทำได้ดังนี้
     1. มีพื้นที่ของสีหนึ่งมาก อีกสีหนึ่งน้อย
     2. ผสมสีอื่นๆ ลงไปสีสีใดสีหนึ่ง หรือทั้งสองสี
     3. ผสมสีตรงข้ามลงไปในสีทั้งสองสี
  
สีกลาง คือ สีที่เข้าได้กับสีทุกสี สีกลางในวงจรสี มี 2 สี คือ สีน้ำตาล กับ สีเทาสีน้ำตาล เกิดจากสีตรงข้ามกันในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนที่เท่ากัน สีน้ำตาลมีคุณสมบัติสำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่นแล้วจะทำให้สีนั้น ๆ เข้มขึ้นโดยไม่เปลี่ยน แปลงค่าสี ถ้าผสมมาก ๆ เข้าก็จะกลายเป็นสีน้ำตาล   สีเทา เกิดจากสีทุกสี ๆ สีในวงจรสีผสมกัน ในอัตราส่วนเท่ากัน สีเทา มีคุณสมบัติที่สำคัญ คือ ใช้ผสมกับสีอื่น ๆ แล้วจะทำให้ มืด หม่น ใช้ในส่วนที่เป็นเงา ซึ่งมีน้ำหนักอ่อนแก่ในระดับต่าง ๆ ถ้าผสมมาก ๆ เข้าจะกลายเป็นสีเทาวงจรสี จะแสดงสิ่งต่าง ๆ ดังต่อไปนี้

ประเภทของสี
     นอกจากการศึกษาเกี่ยวกับแม่สี วงจรสีและวรรณะของสีแล้ว ควรได้รู้จักประเภทต่างๆของสีในงานศิลปะด้วย ทั้งนี้เพราะว่าถ้าได้เรียนรู้ในเรื่องของสียิ่งมากขึ้นก็จะสามารถนำความรู้ ที่ได้ไปสร้างสรรค์งานศิลปะได้อย่างถูกต้องตาม โอกาส และความต้องการ ซึ่งผู้เรียนเองต้องอาศัยการฝึกฝนพอสมควร ในการที่จะสร้างสรรค์ผลงานโดยใช้ความรู้เรื่องสีประเภทต่างๆไปใช้ เพราะถ้าหากขาดการฝึกฝนที่ดีแล้วผลงานก็จะออกมาไม่น่ามอง ดังนั้นการศึกษาถึงประเภทต่างๆของสีจึงมีความจำเป็น ซึ่งจะกล่าวถึงในส่วนที่เป็นพื้นฐานความรู้เบื้องต้นเพื่อเป็นแนวทางในการ ศึกษาดังนี้

ค่าความเข้มหรือน้ำหนักของสี
     สีต่างๆที่เกิดขึ้นในวงจรสีหากเรานำมาเรียงน้ำหนักความอ่อนแก่ของสีหลายสี เช่น ม่วง น้ำเงิน เขียวแกมน้ำเงิน เขียว และเหลืองแกมเขียว หรือ ม่วง แดง แดงส้ม ส้ม ส้มแกม เหลือง และเหลืองหรือเรียกว่าค่าในน้ำหนักของสีหลายสี (Value of different color)

สำหรับค่าความเข้มอีกประเภทหนึ่งเกิดจากการนำสีใดสีหนึ่งเพียงสีเดียวแล้วนำ มาไล่น้ำหนักอ่อนแก่ในตัวเอง เราเรียกว่าค่าน้ำหนักสีเดียว (Value of single color) ซึ่งถ้าผู้เรียนฝึกฝนได้เป็นอย่างดีแล้ว สามารถนำความรู้จากการไล่ค่าน้ำหนักนี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์
ได้ มากในการสร้างงานจิตรกรรม

ผู้ที่ศึกษาทางศิลปะบางคนชอบที่จะให้สีหลายๆสี โดยเข้าใจว่าจะทำให้ภาพสวยแต่ที่จริงแล้วเป็นความคิดที่ผิด กลับทำให้ภาพเขียน ที่ออกมาดูไม่สวยงาม เพราะการที่จะให้สีหลายสีให้ดูกลมกลืนกันนั้นเป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก หากเราได้มีโอกาสได้สังเกตภาพเขียนที่สวยๆของศิลปินหลายๆท่านจะพบว่า ผู้สร้างสรรค์ไม่ได้ใช้สีที่มากมายเลย ใช้อย่างมากสองถึงสี่สีเท่านั้นแต่ เราดูเหมือนว่าภาพนั้นมีหลากหลายสีทั้งนี้ก็เพราะว่าเขารู้จักใช้ค่าน้ำหนัก สีๆเดียวโดยการนำเอาสีอื่นเข้ามาผสมผสานบ้างเท่านั้น

สีตัดกัน
สีตัดกันหรือสีตรงข้ามก็คือสีที่อยู่ตรงข้ามกันในวงจรสีนั่นเองการที่เราจะทราบว่าสีคู่ใดเป็นสีตรงข้ามกันอย่างแท้จริงหรือไม่
ให้นำเอาสีคู่นั้นมาผสมกันดูถ้าผลการผสมกันออกมาเป็นสีกลางนั้นหมายถึงว่าสีคู่นั้นเป็นคู่สีตัดกันอย่างแท้จริง

การใช้สีตัดกันในการสร้างงานศิลปะนั้นต้องมีหลักเกณฑ์พอสมควรหากใช้อย่างไม่รู้หลักการแล้ว
จะทำให้การสร้างสรรค์ผลงานออกมาไม่น่ามอง ขัดต่อหลักการทางศิลปะ อีกด้วยการสร้างงานศิลปะที่มีแต่สีกลมกลืนโดยไม่นำสีที่ตัด
กันไปใช้บางครั้งทำให้ภาพดูน่าเบื่อหากนำสีตัดกันไปใช้จะทำให้ภาพดูมีชีวิตชีวา ดังนั้นหากจะนำสีตัดกันมาใช้ในงานศิลปะควรต้อง
ศึกษาหลักการต่อไปนี้
                                           
 เมื่อเราระบายสีในภาพโดยใช้โทนสีที่กลมกลืนกัน 5 - 6 สี ถ้าต้องการให้ภาพดูมีชีวิตชีวา ไม่จำเป็นต้องใส่สีคู่ที่ 5 หรือ 6 ลงไป
ให้เลือกเอาสีใดสีหนึ่ง อาจเป็นหนึ่งหรือสองสีที่เกิดการตัดกันกับวรรณะของสีโดยรวมของภาพนั้น ซึ่งไม่เจาะจงให้ตัดกับสีใดสีหนึ่ง
โดยเฉพาะวิธีการใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกันมีหลักการดังนี้
        1. ปริมาณของสีที่ตัดกันกับวรรณะของสีทั้งหมดในภาพต้องอย่าเกิน 10% ของเนื้อที่ในภาพเขียน
        2. ในลักษณะการนำไปใช้ ในทางประยุกต์ศิลป์หรือเชิงพานิชควรใช้ตามหลักเกณ์ดังนี้
- การใช้สีตรงข้ามหรือสีตัดกัน ต้องใช้สีใดสีหนึ่งจำนวน 80% อีกฝ่ายหนึ่ง ต้องเป็น 20% จึงจะมีคุณค่าทางศิลปะ
- หากจำเป็นต้องใช้สีคู่ใดคู่หนึ่งปริมาณเท่าๆกัน ควรต้องลดค่าของคู่สีลง
- หากภาพเป็นลายเล็กๆ เช่น ภาพที่เต็มไปด้วยต้นไม้ใบไม้เล็ก การใช้สีตัดกันอย่างสดๆ สลับกัน ผลคือจะผสมผสานกันเอง
- หากจำเป็นต้องใช้สีตัดกันในภาพใหญ่ๆหรือพื้นที่ภาพมากๆและสีคู่นั้นติดกัน ควรใช้เส้นดำมาคั่นหรือตัดเส้นด้วยสีดำ
เพื่อลดความรุนแรงของภาพและคู่สีได้
                                                                                   
ที่มา: vattaka.com

วันอาทิตย์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2554

ประวัติส่วนตัีว


รายวิชา  นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
อาจารย์ผู้สอน  สุจิตตรา  จันทร์ลอย
ปีการศึกษา  2/2553

นางสาวณัฐธิดา  ทองเภา  ป.บัณฑิตวิชาชีพครู  หมู่  2  รุ่น  13
นายพชระ  มณีผล  ป.บัณฑิตวิชาชีพครู  หมู่  2  รุ่น  13
คณะคุรุศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง
ประวัติส่วนตัว
เกิดวันที่  13  มีนาคม  พ.ศ.2530
อายุ  23  ปี
ที่อยู่ปัจจุบัน  9/3  หมู่  3  ต.บ้านม่วง  อ.บ้านโป่ง  จ.ราชบุรี  70110
การศึกษา  ปริญญาตรี  การจัดการอุตสาหกรรม  (มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์)
ตำแหน่งงานปัจจุบัน  ครูผู้สอน  (โรงเรียนวัดม่วง)
เบอร์โทรติดต่อ  081-0173611 
E-mail  ma_ma_moji@hotmail.com